ETV เพื่อการเรียนรู้
กศน.ตำบลเมืองลี
วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลเมืองลี
แหล่งวิทยาการชุมชน
ประเภทบุคคล ประเภทสถานที่และองค์กร
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
|
ความรู้ความสามารถ
|
ที่อยู่
|
นายหลิด ตันแฮด
|
ดนตรีพื้นเมือง
สะล้อ,ซอ,ซึง
|
บ้านนาม่วง
ม.7
ต.เมืองลี
อ.นาหมื่น
จ.น่าน
|
นายอินสม มาอิ่น
|
ภาษาล้านนา
|
บ้าน้ำแขว่ง
ม.6
ต.เมืองลี
อ.นาหมื่น
จ.น่าน
|
นายเศรษฐศักดิ์
ศรีแก้ว
|
ดนตรีไทย-ดนตรีพื้นเมือง
|
บ้านาคา
ม.4
ต.เมืองลี อ.นาหมื่น จ.น่าน
|
ข้อมูลพื้นฐาน กศน.ตำบล
กศน.ตำบลเมืองลี ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านนาคา ตำบลเมืองลี อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน
อยู่ทางทิศใต้ของอำเภอนาหมื่น มีระยะห่างจากอำเภอนาหมื่นประมาณ 25 กิโลเมตร
และอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดน่าน ห่างจากจังหวัดน่านประมาณ 105 กิโลเมตร
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลปิงหลวง อำเภอนาหมื่น
จังหวัดน่าน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น
จังหวัดแพร่
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
ลักษณะทางกายภาพ
สภาพพื้นที่ของตำบลเมืองลี
ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน
คิดเป็นร้อยละ 95.95
และมีที่ราบเฉพาะบริเวณที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรกรรมบางส่วน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นลักษณะสูงชัน (Slop Land) ซึ่งมีประมาณ 3 %
ของพื้นที่ทั้งหมด
ทรัพยากรดิน
ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นแบบดินภูเขาตามสภาพของพื้นที่ที่เป็นภูเขาสูง ดินตื้นมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
เนื่องมาจากกัดกร่อน
หรือมีหญ้าคาหรือวัชพืชอื่นๆ ขึ้นปกคลุมหนาแน่นมักมีการชะล้าง
พังทลายของหน้าดิน
ไม่เหมาะต่อการทำเกษตรเท่าที่ควร
ทรัพยากรน้ำ
มีแหล่งน้ำธรรมชาติ มีแม่น้ำสายหลักสองสาย คือ 1. แม่น้ำลี
2. แม่น้ำอูน มีลำห้วย 29 สาย บึง
หนอง 3 แห่ง แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ฝาย
35 แห่ง
ทรัพยากรป่าไม้
ตำบลเมืองลี มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง
มีป่าไม้ปกคลุม ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดน้ำตกหลายแห่ง ในเขตตำบลเมืองลี
มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณร้อยละ 30 ของพื้นที่
มีพื้นที่ป่าไม้หนาแน่นบริเวณภูเขาและเชิงเขา
ในพื้นที่การเกษตรของประชาชนมีการปลูกไม้เศรษฐกิจ เช่น ข้าวโพดเลี้ยง นอกจากนั้น
ยังมีการปลูกไม้ผลเพื่อการบริโภค เช่น เงาะ ลองกอง
เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้มากขึ้น
โครงสร้างพื้นฐาน
แบ่งเขตการปกครองตามลักษณะของเขตที่อยู่อาศัย
มี 7 หมู่บ้าน บ้านน้ำอูน หมู่ที่ 1
บ้านป่าซาง หมู่ที่ 2 บ้านนาหมอ หมู่ที่ 3 บ้านนาคา หมู่ที่
4 บ้านวังน้ำเย็น หมู่ที่ 5 บ้านน้ำแขว่ง หมู่ที่ 6 บ้านนาม่วง
หมู่ที่ 7 ประชากร 1,664
คน ซึ่งจำแนกเป็นรายหมู่บ้านดังนี้
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
ชื่อผู้นำ
|
จำนวนครัวเรือน
|
จำนวนประชากร
|
1
|
บ้านน้ำอูน
|
นายสุจีนจ์ ฐานะ
|
82
|
317
|
2
|
บ้านป่าซาง
|
นายจำเริญ จรัสบูรณาพันธุ์
|
34
|
124
|
3
|
บ้านนาหมอ
|
น.ส.ณฤดี อินขวาง
|
55
|
197
|
4
|
บ้านนาคา
|
นางจำนง คำฤทธิ์
|
75
|
206
|
5
|
บ้านวังน้ำเย็น
|
นายสำราญ ถาลี
|
85
|
334
|
6
|
บ้านน้ำแขว่ง
|
นายสังวาล คำถา
|
37
|
129
|
7
|
บ้านนาม่วง
|
นายสง่า จินะแปง
|
95
|
357
|
รวม
|
463
|
1,664
|
ที่มา ข้อมูล จปฐ.ปี 2557
การคมนาคมติดต่อสื่อสาร
การคมนาคม
(ติดต่อระหว่าง ตำบลและอำเภอ รวมทั้งการคมนาคมภายในหมู่บ้าน)
ทางหลวงชนบท
(รพช.) ถนนนาทะนุง-บ้านนาคา
ต.เมืองลี-อำเภอนาหมื่นระยะทาง
25.30 กิโลเมตร ซึ่งสามารถใช้สัญจรไปยังตำบลต่างๆรวมไปถึงอำเภอและตัวจังหวัด
ทางหลวงลาดยาง(รพช.)บ้านาทะนุง-บ้านนาคา ระยะทาง
25 กิโลเมตร
ทางหลวงลาดยาง(รพช.)บ้านาคา-บ้านน้ำแขว่ง ระยะทาง
7.50 กิโลเมตร
ทางหลวงลาดยางในหมู่บ้าน
บ้านนาหมอ-บ้านวังน้ำเย็น ระยะทาง 4.00
กิโลเมตร
ถนนดินแดงจำนวน
10 สาย ระยะทาง 12.500 กิโลเมตร
ถนนคอนกรีตจำนวน 39 สาย ระยะทาง 7.50 กิโลเมตร
ถนนลาดยางจำนวน 3 สาย ระยะทาง 10.800 กิโลเมตร
สภาพทางสังคม – ประชากร
จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร จำแนกตามเพศ กลุ่มอายุ
ประชากร ทั้งสิ้น 463 ครัวเรือน
จำนวนประชากร 1,664 คน
ชาย จำนวน 862 คน คิดเป็นร้อยละ 51.80
หญิง จำนวน 802 คน คิดเป็นร้อยละ 48.20
พื้นที่ตำบลเมืองลี
ได้แบ่งการปกครองออกเป็น 7 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
จำนวน
ครัวเรือนทั้งหมด
|
จำนวนประชากร(คน)
|
||
หญิง
|
ชาย
|
ทั้งหมด
|
|||
1
2
3
4
5
6
7
|
บ้านน้ำอูน
บ้านป่าซาง
บ้านนาหมอ
บ้านนาคา
บ้านวังน้ำเย็น
บ้านน้ำแขว่ง
นาม่วง
|
82
34
55
75
85
37
95
|
149
97
165
165
64
100
62
|
168
100
169
192
60
106
67
|
317
124
197
206
334
129
357
|
รวม
|
463
|
802
|
862
|
1,664
|
ที่มา
สำนักทะเบียนราษฎร์ 2557
ที่
|
ช่วงอายุประชากร
|
จำนวนชาย (คน)
|
จำนวนหญิง
(คน)
|
รวม (คน)
|
1
|
น้อยกว่า
1 ปี เต็ม
|
1
|
3
|
4
|
2
|
1
ปีเต็ม – 2 ปี
|
6
|
6
|
12
|
3
|
3 ปีเต็ม – 5 ปี
|
24
|
16
|
40
|
4
|
6
ปีเต็ม – 11 ปี
|
56
|
58
|
114
|
5
|
12 ปีเต็ม – 14 ปี
|
30
|
21
|
51
|
6
|
15 ปีเต็ม – 17 ปี
|
36
|
42
|
78
|
7
|
18 ปีเต็ม – 25 ปี
|
101
|
87
|
188
|
8
|
26 ปีเต็ม – 49 ปี
|
326
|
301
|
627
|
9
|
50 ปีเต็ม – 60 ปี
|
149
|
155
|
304
|
10
|
มากกว่า
60 ปีเต็มขึ้นไป
|
133
|
113
|
246
|
รวมทั้งสิ้น
|
862
|
802
|
1}664
|
ที่มา
ข้อมูล จปฐ.ปี 2557
ศาสนา ชาติพันธุ์ และระดับการศึกษา
·
ศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
·
ภาษาที่ใช้ในท้องถิ่น
ภาษาไทยกลาง
·
ความเชื่อ เชื่อตามคำสอนของผู้ใหญ่
และเชื่อในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา
·
ขนบธรรมเนียมประเพณี
ประเพณีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันสำคัญต่างๆทางศาสนา
ที่
|
ศาสนา
|
ชาย (คน)
|
หญิง (คน)
|
รวม (คน)
|
1
|
พุทธ
|
861
|
800
|
1,660
|
2
|
คริสต์
|
1
|
2
|
3
|
3
|
อิสลาม
|
|||
4
|
ฮินดู
|
|||
5
|
อื่นๆ
|
|||
รวม
|
862
|
802
|
1,664
|
ระดับการศึกษา ระดับการศึกษาของประชากรตำบลเมืองลี
จากการสำรวจข้อมูล จปฐ.ปี2557 พบว่าส่วนใหญ่จบการศึกษาภาคบังคับ
โดยแยกตามระดับได้ดังนี้
ที่
|
ระดับการศึกษา
|
จำนวนชาย (คน)
|
จำนวนหญิง (คน)
|
รวม
(คน)
|
1
|
ไม่เคยศึกษา
|
9
|
13
|
22
|
2
|
อนุบาล/ศูนย์เด็กเล็ก
|
29
|
19
|
48
|
3
|
ต่ำกว่าชั้นประถมศึกษา
|
5
|
4
|
9
|
4
|
จบชั้นประถมศึกษา
|
430
|
443
|
873
|
5
|
มัธยมศึกษาตอนต้น
|
86
|
73
|
159
|
6
|
มัธยมศึกษาตอนปลาย
|
215
|
154
|
369
|
7
|
อนุปริญญา
หรือ เทียบเท่า
|
36
|
14
|
50
|
8
|
ปริญญาตรี
หรือเทียบเท่า
|
51
|
82
|
133
|
9
|
สูงกว่าปริญญาตรี
|
1
|
-
|
1
|
รวม
|
862
|
802
|
1,664
|
สภาพทางเศรษฐกิจ
โครงสร้างฐานอาชีพของชุมชน
รายได้เฉลี่ยของประชากร
1. อาชีพหลัก
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การปลูกข้าวโพด ข้าว
เลี้ยงไก่ เลี้ยงวัว ปลูกพืชผัก ไม้ผล
2. อาชีพเสริม ได้แก่ อาชีพรับจ้าง
เลี้ยงไก่ เลี้ยงวัว ปลูกพืชผัก ไม้ผล
2. อาชีพเสริม ได้แก่ อาชีพรับจ้าง
§
ประกอบอาชีพหลัก คือ
การเกษตรกรรมประเภท ทำนา ทำไร่ ทำสวน เป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 95
§
ประกอบอาชีพรอง คือ
รับจ้างทั่วไป ทำงานบริษัท โรงงานอุตสาหกรรม ค้าขาย คิดเป็น ร้อยละ 3
§
ประกอบอาชีพอื่นๆ
เช่น รับราชการ รัฐวิสาหกิจ ละธุรกิจส่วนตัว มีเป็นส่วนน้อย คิดเป็นร้อยละ 2
แหล่งวิทยาการชุมชน และทุนด้านงบประมาณที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการจัดการศึกษา
ประเภทบุคคล ประเภทสถานที่และองค์กร
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
|
ความรู้ความสามารถ
|
ที่อยู่
|
นายหลิด ตันแฮด
|
ดนตรีพื้นเมือง
สะล้อ,ซอ,ซึง
|
บ้านนาม่วง
ม.7
ต.เมืองลี
อ.นาหมื่น
จ.น่าน
|
นายอินสม มาอิ่น
|
ภาษาล้านนา
|
บ้าน้ำแขว่ง
ม.6
ต.เมืองลี
อ.นาหมื่น
จ.น่าน
|
นายเศรษฐศักดิ์
ศรีแก้ว
|
ดนตรีไทย-ดนตรีพื้นเมือง
|
บ้านาคา
ม.4
ต.เมืองลี อ.นาหมื่น จ.น่าน
|
ประเภททรัพยากรธรรมชาติ
ชื่อแหล่งเรียนรู้
|
ประเภทแหล่งเรียนรู้
|
ที่ตั้ง
|
น้ำตกตาดหมอก
|
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
|
บ้านน้ำอูน หมู่ 1 ต.เมืองลี
อ.นาหมื่น จ.น่าน 55180
|
น้ำตกนางกวัก
|
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
|
บ้านนาหมอ หมู่ 3 ต.เมืองลี อ.นหมื่น จ.น่าน
55180
|
ประเภทกิจกรรมทางสังคม –วัฒนธรรม
ชื่อแหล่งเรียนรู้อื่น
|
ประเภทแหล่งเรียนรู้
|
ที่ตั้ง
|
วัดนาคา
|
โบราณสถาน/ประเพณีวัฒนธรรม
|
หมู่ 4 ต.เมืองลี
อ.นาหมื่น จ.น่าน 51180
|
วัดป่าซาง
|
โบราณสถาน/ประเพณีวัฒนธรรม
|
หมู่ 2 ต.เมืองลี
อ.นาหมื่น จ.น่าน 51180
|
วัดน้ำอูน
|
โบราณสถาน/ประเพณีวัฒนธรรม
|
หมู่ 1 ต.เมืองลี
อ.นาหมื่น จ.น่าน 51180
|
พระธาตุผาช้าง
|
สถานที่ศักดิ์สิทธ์
|
หมู่ 3
ต.เมืองลี อ.นาหมื่น จ.น่าน 51180
|
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าบ้านป่าซาง
|
เครื่องแต่งกาย
|
บ้านป่าซางหมู่ 2
ต.เมืองลี อ.นาหมื่น จ.น่าน 51180
|
กลุ่มทอผ้าผู้สูงอายุ
|
เครื่องแต่งกาย
|
บ้านหลักหมื่น หมู่ 1 ต.นาทะนุง
อ.นาหมื่น จ.น่าน 55180
|
กลุ่มดนตรีพื้นเมือง(วงภูซาง)
|
ศิลปการแสดงและดนตรี
|
นักเรียนโรงเรียนอนุบาลเมืองลี
|
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
|
เศรษฐกิจพอเพียง
|
บ้านน้ำอูน หมู่ 1 ต.เมืองลี
อ.นาหมื่น จ.น่าน 55180
|
ต้นทุนด้านงบประมาณ (ระบุแหล่งต้นทุนด้านงบประมาณของชุมชน)
§ อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน
58 คน
§ กลุ่มสตรีแม่บ้าน จำนวน
7 กลุ่ม
§ กลุ่มเยาวชน จำนวน
7 กลุ่ม
§ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 7 กลุ่ม
§ กลุ่มแม่บ้านเกษตร จำนวน
7 กลุ่ม
§
คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน
7 กลุ่ม
ปัญหาและความต้องการทางการศึกษาของประชาชนที่จำแนกตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
ด้านการรู้หนังสือ
·
ปัญหา
ประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่ในตำบลเมืองลีได้รับการศึกษาอย่างน้อยระดับประถมศึกษา
ส่วนใหญ่ปัญหาที่พบคือการลืมหนังสือในกลุ่มผู้สูงวัย
·
ความต้องการทางการศึกษา
ต้องการให้มีกิจกรรมในการส่งเสริมการอ่าน การฟัง และการเรียนรู้
เพื่อการทบทวนความรู้ ในการเขียน การอ่านภาษาไทย
ด้านการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สายสามัญ และ
ปวช.)
·
ปัญหา
เนื่องจากสภาพสังคมและปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ได้แก่ ยาเสพติด
ชู้สาว ปัญหาความยากจน ทำให้ประชาชนต้องมีการดิ้นรนเพื่อการเลี้ยงชีพของตนเอง
ทำให้มีเยาวชนที่เรียนภาคการศึกษาขั้นพื้นฐานในระบบโรงเรียนที่ประสบปัญหาดังกล่าวต้องออกโรงเรียนกลางคัน
ไม่ได้เข้ารับการศึกษาต่อ ในระบบโรงเรียน
·
ความต้องการทางการศึกษา
ส่งเสริมการเรียนรู้ให้กลุ่มเป้าหมายได้จบการศึกษาภาคบังคับ
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ด้านอาชีพ
·
ปัญหา
จากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร
รายได้หลักจึงมาจากภาคการเกษตร ไม่มีรายได้อื่นเสริม
·
ความต้องการทางการศึกษา
ส่งเสริมอาชีพโดยอาศัยต้นทุนทางสังคม หรือวัตถุดิบในท้องถิ่นเป็นหลัก
หรือความชำนาญในฝีมือและทักษะต่างๆ
เพื่อเป็นช่องทางการประกอบอาชีพและสามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน
ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต
·
ปัญหา
จากสภาพสังคม การเมืองที่เปลี่ยนไปอย่างทันท่วงที ส่งผลทำให้ประชาชนปรับตัวและรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ทัน ประชาชนบางส่วนยังขาดความเข้าใจในบางเรื่อง เช่น
นโยบายรัฐบาลที่เปลี่ยนไป นโยบายค่านิยม ๑๒ ประการ
·
ความต้องการทางการศึกษา
กศน.ตำบลต้องจัดกิจกรรมส่งเสริมและให้ความรู้ให้แก่ประชาชนในตำบลให้เหมาะสมกับเหตุการณ์
และนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้ประชาชนได้รับการพัฒนาด้านทักษะอย่างทั่วถึงและเต็มที่
ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน
·
ปัญหา
สภาพสังคมและชุมชนที่เปลี่ยนแปลงไป
ไม่ว่าจะเป็นด้านวัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยมต่างๆ การอนุรักษ์ธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อม ซึ่งเยาวชนรุ่นหลังเริ่มไม่เห็นความสำคัญของสิ่งเหล่านี้
จึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมและจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านสังคมและชุมชน
ความต้องการทางการศึกษา
กศน.ตำบลต้องจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
โดยให้นักศึกษาและเยาวชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมใน การพัฒนาชุมชนของตนเอง
โดยจัดกิจกรรมร่วมกับเครือข่าย
หรือการเขียนโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชนโดยใช้งบประมาณของ กศน.
ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
·
ปัญหา
จากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน รายได้ไม่พอกับรายจ่าย
ประชาชนต้องการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน
·
ความต้องการทางการศึกษา
ส่งเสริมและจัดกิจกรรมเพื่อให้ประชาชนมีรายได้ และลดรายจ่าย ได้แก่ การส่งเสริมการทำบัญชีครัวเรือน ส่งเสริมการปลูกพืชสวนครัวรั่วกินได้ ส่งเสริมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เป็นต้น
ด้านการศึกษาตามอัธยาศัย
·
ปัญหา
คนไทยติดอันดับท้ายสุดในการอ่านหนังสือ และเริ่มขาดทักษะในการอ่านการเขียน
รวมทั้งขาดทักษะการเรียนรู้
·
ความต้องการทางการศึกษา
จัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนเพื่อส่งเสริมการอ่านหนังสือ หรือการเรียนรู้จากสื่อต่างๆ ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในบ้านหนังสืออัจฉริยะ,
กิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)